วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นโปรแกรม Adobe Indesign

หน้าแรก

ความรู้เบื้องต้นโปรแกรม Adobe Indesign


โปรแกรม Adobe Indesign เป็นโปรแกรมสำหรับงานด้านสิ่งพิมพ์ งานออกแบบเอกสาร หรือเรียกกันง่ายๆว่า โปรแกรมจัดหน้ากระดาษนั้นเอง จุดเด่นของโปรแกรม Indesign คือสามารถทางานด้านการจัดหน้ากระดาษได้เป็นอย่างดี ซึ่งคล้ายๆกับการนาเอาโปรแกรม Pagemaker มารวมกับโปรแกรม Illustrator

          ระบบการทางานของโปรแกรม Indesign นั้น ไม่สามารถใช้ Indesign เดี่ยวๆ ได้ ต้องมีความรู้พื้นฐานของ Photoshop และ illustrator ด้วยเพราะต้องมีการเตรียมรูปภาพจาก Photoshop และเตรียมคลิปอาร์ต หรือ Logo ต่างๆ มาจาก illustrator ส่วนข้อความสามารถเตรียมมาจาก โปรแกรมประเภท Word Prospering แล้วเราจึงนามาประกอบรวมกันเป็นหนังสือ หรือแผ่นพับต่างๆ ใน Indesign เสร็จแล้วเราจึง Export ไฟล์งานของเรานั้นเป็นไฟล์ PDFX1-a หรือ PDFX-3 เพื่อส่งโรงพิมพ์ ทางโรงพิมพ์ก็จะทา Digital Poof ส่งกลับมาให้เราตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนจะทาเพลท และส่งให้โรงพิมพ์ต่อไป
 ส่วนประกอบของโปรแกรม Indesign



1.
Menu Bar
บรรจุคาสั่งใช้งานต่างๆ การทางานจะคล้ายๆกับโปรแกรมอื่นๆ เช่น Photoshop , Illustrator
2.
Option Bar
บรรจุตัวเลือกกำหนดคุณสมบัติหรือตัวปรับแต่งการทางานให้กับวัตถุ ( ตัวอักษรหรือภาพ ) ที่เรากาลังเลือกทางาน
3.
Tool Bar
เครื่องมือชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการทางาน
4.
Document
พื้นที่เอกสาร สาหรับการทางาน คล้ายกับกระดาษเปล่าๆ ที่คอยให้เราเติมตัวอักษรหรือภาพลงไปนั้นเองค่ะ
5.
Pasteboard
พื้นที่ว่างๆ รอบเอกสาร คล้ายกับโต๊ะทางาน ที่เราสามารถวางสิ่งของอื่นๆได้
6.
Guide
ไม้บรรทัดสาหรับการวัดระยะหรือสร้างเส้น Guide
7.
Palette
หน้าต่างย่อยสาหรับช่วยเสริมการทางาน เมื่อคลิกลงไปแต่ละปุ่มจะเป็นการเรียกใช้งาน Palette แต่ละชนิด



Tool Box


Tool Box 
กล่องเครื่องมือเป็นแถบแนวตั้ง อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม มีหน้าที่บรรจุกลุ่มเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เราสามารถคลิกเลือกใช้งานได้อย่างสะดวก
                ที่ด้านบนสุดของกล่องเครื่องมือ ( ตรงกรอบสีเทา ) จะมีไอคอนลูกศรเล็กๆ วางอยู่ เราสามารถคลิกเลือกที่ลูกศรเพื่อเปลี่ยนให้กล่องเครื่องมือขยายตัวออกเป็นสองแถว หรือคลิกที่ลูกศรเดิมอีกครั้งกล่องเครื่องมือก็จะแสดงผลเป็นแบบแถวเดียว 
1. กลุ่มเครื่องมือสาหรับเลือก (Selection )
2. กลุ่มเครื่องมือสาหรับวาดภาพหรือพิมพ์อักษรข้อความ
3. กลุ่มเครื่องมือสาหรับทา Transfrom (ปรับขนาด , เปลี่ยนทิศทาง ฯลฯ )
4. กลุ่มเครื่องมือช่วยเสริมการทางานทั่วไป
5. กลุ่มเครื่องมือสาหรับเลือกสีพื้นและสีเส้น
กลุ่มเครื่องมือบางชนิดในกล่องเครื่องมือจะมีลูกศรเล็กๆ อยู่ตรงมุมล่างขวา นั่นหมายถึงว่าในปุ่มเครื่องมือนั้น จะมีเครื่องมืออื่นๆ ( ที่ทำงานคล้ายๆกัน ) อยู่ในนั้นด้วย และอีกทั้งมีสัญลักษณ์ คีย์ลัดบอก ซึ่งจะอยู่ด้านขวามือ เวลาเรากดเลือกเครื่องมือ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน


ตัวอักษร (Text)
ตัวอักษรประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1. ตัวอักษร ซึ่งเราสามารถใช้ เครื่องมือ Type Tool สาหรับจัดการ
2. Textframe หรือเป็นกรอบของตัวอักษร ในทุกครั้งที่เราต้องการพิมพ์ข้อความต่างๆ เราจะต้องสร้าง Frame มาก่อน แล้วค่อยใช้เครื่องมือ Type tool อีกทีค่ะ
***ในทุกครั้งที่ต้องการพิมพ์ตัวอักษร จะต้องสร้างกรอบ ( Frame ) มาก่อนทุกครั้ง